เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[61] 1. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิต
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
2. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
3. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่กรรมที่เป็นจิต และ
ธรรมที่ไม่ใช่จิต ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์, จิต และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

2. อารัมมณปัจจัย


[62] 1. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วย
ำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ จิต ปรารภจิต เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล. (วาระที่ 2)
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิต ปรารภจิต เกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 3)
จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ปรารภจิต เกิดขึ้น.
4. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิต
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน รักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณา
ซึ่งกุศลกรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลนั้น ราคะ
ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น
พิจารณากุศลที่ตนอบรมมาดีแล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลาย ออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค, พิจารณาผล,
พิจารณานิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่ไม่ใช่จิต พิจารณากิเลส
ที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นในกาลก่อน.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ และ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิต
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมที่ไม่ใช่จิต ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิญญาณ, แก่เจโตปริยญาณ,
แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, แก่ยถากัมมูปคญาณ, แก่อนาคตังสญาณ, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
5. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

มีคำอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีตอนต้น ที่ว่าบุคคลให้ทาน ฯลฯ
ไม่มีแตกต่างกัน ข้อที่ต่างกันมีแต่ว่า รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักษุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ, ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิต เป็น
ปัจจัยแก่อิทธิวิญญาณ ฯลฯ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมเป็นจิตและ
ธรรมที่ไม่ใช่จิต ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

มีคำอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีตอนต้น ที่ว่าบุคคลให้ทาน ฯลฯ
ไม่มีแตกต่างกัน ข้อที่ต่างกันมีแต่ว่า รูปายตนะเป็นปัจจัยและก็จักษุวิญญาณ และ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ และ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ฯลฯ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

7. ธรรมที่เป็นจิต และธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่เป็นจิต ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ จิต ปรารภจิต เเละสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย มี 3 วาระ (วาระ
ที่ 7-8-9)

3. อธิปติปัจจัย


[63] 1. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
จิต ทำจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
2. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิต ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิต ทำจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
จิตตาธิปติธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต และ
ธรรมที่ไม่ใช่จิต ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย